ตู้สวิทช์บอร์ด
ตู้สวิทช์บอร์ด เป็นแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยแผงแรกที่รับไฟจากการไฟฟ้าหรือด้านแรงต่ำ ของหม้อแปลงจำหน่าย แล้วจ่ายกำลงไฟฟ้าไปยังแผงย่อยตามส่วนต่างๆของอาคาร นิยมใช้ในอาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม
หน้าที่ของตู้สวิทช์บอร์ด คือการรับไฟฟ้าเข้ามาในอาคารโดยผ่านสวิทช์ขนาดใหญ่ ซึ่งปกติแล้วจะเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำ ที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้า 400-426VAC,50hX 3เฟส 4 สาย
ตู้สวิทช์บอร์ดต้องติดตั้งให้สะดวกต่อการปฏบัติงาน และไม่เปิดเปลือยสายไฟให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใกล้ได้ หลังตู้สวิตช์บอร์ดควรห่างจากผนังพอสมควร ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางบริเวณหลังตู้สวิตช์บอร์ด ด้านหน้าและด้านหลังของตู้ควรมีไฟส่องสว่าง ฟิวส์และอุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบกันในตู้สวิตช์บอร์ดต้องมีประตู้เปิดปิดได้ตลอดเวลา และมีข้อความเตือนอันตราย
ตู้สวิทซ์บอร์ดของเราออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยใช้ซอต์แวร์ AD/CAM เช่น SalidWork และ Autocad ในการออกแบบ ซึ่งมีมาตรฐานในการออกแบบเป็นแบบโมดูล่า ทำให้การประเมินราคาไม่ซับซ้อนและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
ในแผนกประเมินราคและออกแบบ มีวิศวกรประจำมากกว่า 15 คน ซึ่งวิศวกรทุกคนล้วนมีประการณ์ในการออกแบบสวิทซ์บอร์ดไฟฟ้าและกาไช้งานซอฟแวร์ CAD/CAM เป็นอย่างดี เราสามารถออกแบบและผลิตสวิทซ์บอร์ดทุกประเภทตั้งแต่ Main Distribution Board, Motor Control Center fixed and withdrawable type,outdoor enclosure จนถึง wall mounting panel.
อุปกรณ์ที่สำคัญภายในตู้สวิตช์บอร์ด
- Enclosure (ตัวตู้ด้านนอก)
โดยส่วนมากมักจะทำมาจากแผ่นโลหะสร้างเป็นเค้าโครงตู้ ที่สามารถรับแรงดันจากภายนอกได้ ทนความร้อน และการกัดกร่อนของสารเคมีหรือน้ำทะเล ช่วยป้องกันความชื้น การไฟลเข้าของของเหลว และ ป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีกระแสไฟฟ้า - Busbar (ตัวนำไฟฟ้า)
โลหะที่จะนำมาใช้ป็นบัสบาร์ ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้- มีความต้านทานต่ำ
- ความแข็งแรงทางกลสูงในด้านแรงดึง แรงอัดและแรงฉีก
- ความต้านทานต่อ Fatigue Failure สูง
- ความต้านทานของ Surface Film ต่ำ
- การตัดต่อหรือดัด ทำได้สะดวก
- ความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง
- Circuit Breaker (อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปิดและปิดวงจรไฟฟ้า)
Mold Case Circuit Breaker (MCCB) ทำหน้าที่ เป็นสวิทช์เปิด – ปิด ด้วยมือ และเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไหลเกิน หรือเกิดลัดวงจร โดย เบรกเกอร์จะอยู่ในภาวะตัดการทำงานจากกระแสเกิน(Trip) ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างตำแหน่งเปิดและปิด (ON/OFF) เราสามารถรีเซ็ตใหม่ได้โดย กดคันโยกให้อยู่ในตำแหน่ง ปิดเสียก่อน แล้วค่อยโยกไปตำแหน่งเปิด
Air Circuit Breaker (ACB)
เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้กับแรงดันที่ต่ำกว่า 1000 โวลต์ มีขนาดใหญ่ใช้สำหรับเป็น เมนเบรกเกอร์ โดยทั่วไป มีพิกัดกระแสตั้งแต่ 225-6300 แอมป์ และมี อินเตอร์รัปติง คาปาชิตี (Interrupting Capacity)สูงตั้งแต่ 35-150 กิโลแอมป์ โครงสร้างทั่วไปทำด้วยเหล็กมีช่องดับอาร์ก (Arcing Chamber) ที่ใหญ่โต แข็งแรง เพื่อให้สามารถรับกระแสลัดวงจรจำนวนมากได้ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีขายในท้องตลาดมักใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจจับ และวิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจร - Miter (อุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้า)
Voltmeter ใช้วัดแรงดันไฟฟ้า ระหว่างจุด 2จุด ในวงจร ความต้านทานภายในของเครื่องโวลต์มิเตอร์มีค่าสูง วิธีใช้ต้องต่อขนานกับวงจรเครื่องมือที่ใช้วัดค่าความต่างศักย์ในวงจรไฟฟ้า ค่าที่วัดได้มีหน่วยโวลต์ (V) โวลต์มิเตอร์เป็นเครื่องมือที่ดัดแปลงมาจากแกลแวนอมิเตอร์ โดยต่อความต้านทานแบบอนุกรม กับแกลแวนอมิเตอร์ และใช้ความต่างศักย์ และใช้วัดความต่างศักย์ในวงจรโดยต่อแบบขนานกับวงจรที่ต้องการวัด
Power Meter คืออุปกรณ์ที่รวม มัลติมิเตอร์ แคล้มป์มิเตอร์ ซึ่งนอกจากจะวัดฟังก์ชั่นต่างๆได้แล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลกำลังงานได้ง่ายและเต็มประสิทธิภาพ
Ammeter ใช้สำหรับวัดปริมาณกระแสไฟฟ้า เมื่อการนำไปใช้งานในวงจรฟ้า จะต้องต่อแบบอนุกรมกับวงจร หรืออนุกรรมกับโหลดเสมอถ้าหากมีการนำไปต่อขนาน ทำมห้เกิดความเสียหายกับเครื่องวัดได้ เนื่องจากโครงสร้างภายในของแอมป์มิเตอร์นั้น ถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทานที่ต่ำ เมื่อถูกต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าจะต้องไม่มีผลกระทบต่อวงจร
- Other Devices (อุปกรณ์ติดตั้งตัวอื่นๆ)
Magnetic อุปกรณ์สวิทช์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อการเปิด-ปิด ของหน้าสัมผัส (Contact) ทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการเปิด-ปิดหน้าสัมผัส ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า เช่น เปิด-ปิด การทำงานของวงจรควบคุมมอเตอร์ นิยมใช้ในวงจรของระบบแอร์, ระบบควบคุมมอเตอร์ หรือใช้ในการควบคุมเครื่องจักรต่างๆ โดยแมกเนติกคอนแทคเตอร์นั้น จะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญต่อการทำงาน ได้แก่ แกนเหล็ก (Core), ขดลวด (Coil), หน้าสัมผัส (Contact) และสปริง (Spring)
แต่ถ้าหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อการทำงานให้ดี เราจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำงานด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลือกใช้แมกเนติก คอนแทคเตอร์ อย่างไรให้ได้ผล และเราควรเลือกใช้แมกเนติก คอนแทคเตอร์ ประเภทไหนให้เหมาะกับงาน รวมไปถึงเรื่องอุปกรณ์เสริมของแมกเนติก คอนแทคเตอร์ที่จำเป็นต้องรู้ เพราะสิ่งเหล่านี้คือข้อมูลสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำงาน